วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การทำหนังสือเดินทาง

ข้อมูลของการทำหนังสือเดินทาง และอื่นๆ


การทำหนังสือเดินทาง

ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าสู่ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-passport) หากหนังสือเดินทางของท่านเคยต่ออายุมาแล้วครั้งหนึ่งและใช้งานมาครบ 10 ปีแล้ว ท่านต้องมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางด้วยตนเอง เนื่องจากการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีการเก็บข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) ได้แก่ ลายนิ้วมือและภาพถ่ายของผู้ร้องฯ กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของท่านที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
นอกจากนี้ จะไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขข้อมูล เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อตัว ชื่อสกุล ในเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ถ้าท่านต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎรก่อนที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการนี้ หากท่าน ไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับไปแก้ไขข้อมูลทะเบียนราษฎรที่ประเทศไทยด้วยตนเองก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในประเทศไทยดำเนินการแทนได้ โดยติดต่อขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ดูรายละเอียดการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร
หากท่านได้ทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอกนิกส์แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนราษฎรในภายหลัง ท่านจะต้องทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มใหม่
ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มละ 250 โครนเดนมาร์ก มีอายุใช้งาน 5 ปี (โดยได้เพิ่มหน้าหนังสือเดินทางจากเดิม 32 หน้า เป็น 50 หน้า) และจะไม่มีการต่ออายุ แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
การยื่นคำร้อง
  1. กรุณานัดหมายกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ล่วงหน้าที่หมายเลข +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น .
  2. ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องเดินทางไปทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครอง (ทั้งบิดาและมารดา) จะต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
  3. การผลิตหนังสือเดินทาง ใช้เวลาทำการประมาณ 4-6 สัปดาห์
  4. ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก (เงินสด)
หมายเหตุ เนื่องจากขณะนี้มีผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากเกินกว่ากำลังเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์รับคำร้องที่ สถานเอกอัครราชทูตฯ มีอยู่จะสามารถรับได้ในแต่ละวัน และเพื่อไม่ให้ผู้ร้องฯ ต้องรอนานหรือต้องกลับบ้านไปโดยไม่ได้ยื่นคำร้องฯ กรุณาโทรศัพท์มานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนก่อนหนังสือเดินทางหมดอายุ หรืออย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่ท่านต้องการใช้หนังสือเดินทางเพื่อยื่นคำร้องขอต่อใบถิ่นพำนักอาศัยในเดนมาร์ก (opholdstilladelse)  ที่หมายเลขโทรศัพท์ +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น . หากท่านไม่ได้นัดหมายมาก่อนล่วงหน้า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถรับคำร้องของท่านได้
เอกสารและหลักฐานที่จะต้องยื่น
กรณีบุคคลทั่วไป
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด |ดาวน์โหลด |
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักของผู้ร้องฯ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • บัตรประจำตัว (sundhedskort) และบัตรรับรองการมีถิ่นพำนักในเดนมาร์ก (opholdstilladelse kort)
  • หนังสือแจ้งความฉบับภาษาอังกฤษ (ในกรณีหนังสือเดินทางหาย)
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
กรณีผู้เยาว์ ( มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด|
  • หนังสือเดินทางฉบับเดิม (ถ้ามี)
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีหมายเลขประจำตัว 13 หลัก พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สูติบัตร หากผู้เยาว์เกิดในต่างประเทศและยังมิได้ทำสูติบัตร บิดามารดาจะต้องติดต่อขอทำสูติบัตรไทย ณ สถานทูตไทยในประเทศที่เด็กเกิด ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง ดูรายละเอียด | การแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตรไทย |
  • บัตรประจำตัว (sundhedskort) และบัตรรับรองการมีถิ่นพำนักในเดนมาร์ก (opholdstilladelse kort)
  • ทะเบียนสมรสบิดามารดา
  • หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุอยู่ของบิดา/มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง
  • บิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองต้องมาแสดงตนพร้อมผู้เยาว์ และลงนามให้ความยินยอมในแบบคำร้อง
  • หนังสือแจ้งความฉบับภาษาอังกฤษ (ในกรณีหนังสือเดินทางหาย)
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
หมายเหตุ
  • บิดามารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนาม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ จะต้องไปลงนามใน “ หนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม” ( สำหรับการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายมือชื่อของบิดาและมารดา [กรณีพำนักอยู่ในกรีนแลนด์ต้องไปลงนามต่อหน้าศาล]
  • ในกรณีที่บิดาและมารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ “ หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทาง ผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ [กรุงเทพฯ] หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ [ต่างจังหวัด]
  • กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว และ จะต้องแสดงหลักฐานทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลซึ่งระบุว่าเด็กอยู่ในความปกครองของบิดา/มารด าหรือผู้มีอำนาจปกครอง
  • กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์เสียชีวิต จะต้องแสดงหลักฐานใบมรณบัตร
กรณีข้าราชการและนักศึกษาที่ลามาศึกษาต่อ
  • หนังสือของส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อ
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด |
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักของผู้ร้องฯ
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
กรณีพระภิกษุ
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด |
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • สำเนามติมหาเถรสมาคมอนุมัติการขอออกหนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ และฉายา หรือนามสกุลที่ตรงกับหนังสือเดินทาง (ยกเว้นพระภิกษุที่บวชในต่างประเทศ)
  • ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
  • เอกสารทะเบียนราษฎร์ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
***กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดนมาร์ก ***
เอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็นแต่ละกรณี 
1. ใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล
– กรณีใช้ชื่อ/ชื่อสกุลใหม่ที่ไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมหรือรายการแก้ไขหนังสือเดินทางที่ปรากฏในหนังสือเดินทางฉบับเดิม
2. ใบสำคัญการสมรส
– สตรีที่สมรสแล้วขอเปลี่ยนชื่อสกุล
– มารดาที่มีชื่อสกุลไม่ตรงกับสูติบัตรของบุตร
3. ใบสำคัญการหย่า
– สตรีที่ใช้ชื่อสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมเนื่องจากหย่า
4. บันทึกการหย่า
– ใช้ประกอบการแสดงอำนาจในการปกครองบุตร
5. หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร
– กรณีผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของบิดา โดยที่บิดา/มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
6. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา/มารดา
– ผู้เยาว์ที่บิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าว
** หากผู้ร้องฯ ไม่สามารถแสดงเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ขอให้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถแสดงเอกสารดังกล่าวฯ พร้อมทั้งแสดงเอกสารอย่างอื่นที่แสดงความเป็นคนไทย เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาอนุโลมเป็นรายกรณี **
ระยะเวลาดำเนินการและการรับเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันคำร้องขอออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะถูกส่งไปผลิตเล่มที่กระทรวงการต่างประเทศโดยใช้เวลานับแต่ยื่นคำร้องจนกระทั่งได้รับเล่มจากสถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์
ผู้ร้องฯ สามารถรับเล่มหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี คือ
– มารับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
– ส่งกลับให้ทางไปรษณีย์ หากประสงค์ให้สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดส่งกลับให้ทางไปรษณีย์ โปรดแนบซอง จ่าหน้าถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน พร้อมติด แสตมป์สำหรับค่าไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้เพียงพอสำหรับน้ำหนักหนังสือเดินทาง และเอกสารที่ต้องการให้ส่งคืน (หากมี) ตามอัตราของสำนักงานไปรษณีย์เดนมาร์ก (ประมาณ 100 โครนเดนมาร์ก) หากชำระค่าไปรษณีย์ไม่ครบถ้วน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่สามารถส่งหนังสือเดินทางกลับให้กับท่านได้
** ดูรายละเอียดอัตราค่าไปรษณีย์ได้ที่ Post Danmark **
หมายเหตุ สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ชำรุดหรือสูญหาย ไม่ว่ากรณีใด
หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญที่อาจใช้แสดงตัวท่านระหว่างที่พำนักในต่างประเทศ โปรดเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย อย่าปล่อยให้ตกอยู่ในมือผู้อื่น และ ไม่ควรปล่อยให้ขาดอายุ หากหนังสือเดินทางมีอายุใช้ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน ควรติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอทำเล่มใหม่
โปรดถ่ายสำเนา และแยกเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ในกรณีที่หนังสือเดินทางของท่านสูญหาย
________________________________________________________________________________
กรุณาติดต่อขอนัดหมายก่อนเพื่อความสะดวก และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน (ฝ่ายกงสุล)
โทรศัพท์ +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น.
อีเมล์  passport@thaiembassy.dk หรือ passportcopenhagen@gmail.com

เรียวกัง



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ท่องเที่ยวญี่ปุ่นแบบอบอุ่นและปลอดภัย

      ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กระแสความนิยมท่องเที่ยวญี่ปุ่นในหมู่คนไทยได้รับการกล่าวถึงเสมอๆ จะเห็นได้จากรายการทีวี คอลัมน์นิตยสารและหนังสือพิมพ์ รวมไปถึงโลกโซเชียลมีเดียและเว็บบอร์ดท่องเที่ยวมากมาย มีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามของญี่ปุ่นและเสน่ห์แห่งการช้อปปิ้งที่ดึงดูดบรรดาขาช้อปชาวไทยให้มาเยี่ยมมาเยือนดินแดนอาทิตอุทัย นอกเหนือจากมาดูมาเห็นสิ่งสวยงามทางธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แล้ว     ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี และสินค้าบรรดามีก็เป็นรายการอันดับต้นๆ ที่คนไทยที่มาญี่ปุ่นจะได้พบเห็นและเลือกซื้อ รวมถึงอาหารญี่ปุ่นอันขึ้นชื่อที่หลายคนหลงใหล ผนวกกับการที่ประเทศญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าให้คนไทยมาท่องเที่ยวได้ 15 วัน และการทำการตลาดของสายการบินน้อยใหญ่ที่หั่นราคาตั๋วเครื่องบินลงมา ล้วนดึงดูดให้คนไทยต่างจูงลูกเด็กเล็กแดง คุณป้า คุณอา อากงอาม่า มาเยือนถิ่นแดนปลาดิบกันถ้วนหน้า ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยตรงได้อย่างยอดเยี่ยม
   ในทางกลับกัน การที่คนไทยเดินทางมาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากย่อมมีปัญหาตามมา เล็กบ้าง ใหญ่บ้างแล้วแต่สถานการณ์ที่ประสบพบเจอ ทุกคนล้วนรับรู้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัย แต่คงไม่มีใครรับรองได้ว่าความปลอดภัยนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกคน ทุกสังคมล้วนมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันไป การมาท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และเปิดมุมมองให้กับนักท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยว ก็อาจสร้างความทรงจำแย่ๆ ให้ได้เช่นกัน หากเราไม่ระมัดระวังตัวปล่อยใจปล่อยกาย รวมทั้งยอมปล่อยเงินออกจากกระเป๋าให้ตกเป็นเหยื่อของผู้หากินกับนักท่องเที่ยวในด้านมืด

        ประสบการณ์หนึ่งที่สถานทูตอยากแบ่งปันกับนักท่องเที่ยวไทย คือ การถูกหลอกให้เข้าไปเที่ยวบาร์ แล้วต้องจ่ายเงินจำนวนหลายแสนเยนเพียงเพื่อดื่มเหล้าและมีผู้หญิงมานั่งคุยเป็นเพื่อน หลายรายต้องเสียเงิน เสียเวลาให้กับผู้มีอิทธิพลในย่านเที่ยวกลางคืนของโตเกียว แถมยังถูกขู่กรรโชกเรียกร้องเงินเป็นจำนวนมาก หากขัดขืนก็อาจถูกทำร้ายร่างกาย เหยื่อจึงเลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตน สถานทูตจึงอยากแจ้งเตือนไปยังนักดื่มหรือวัยรุ่นที่ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับชีวิต ให้หลีกเลี่ยงเข้าไปยังร้านดื่มเหล้า หรือบาร์ เพราะหากเข้าไปแล้วโชคร้ายตามตัวอย่างที่กล่าวมา โอกาส  ที่จะออกมาด้วยเงินอยู่ครบในกระเป๋าเป็นไปได้น้อยมาก

        อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้คนไทยผู้นิยมท่องเที่ยวญี่ปุ่น คือ การมาเที่ยวด้วยตนเอง อาศัยไกด์บุคแนะนำสถานที่กิน สถานที่ช้อปและไม่ได้ซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ หลายคนไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้เลย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่างท่องเที่ยวเข้าโรงพยาบาลญี่ปุ่น ต้องตกใจกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก เมื่อได้รับใบเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล บางรายโทร. หาสถานทูตให้ช่วยเจรจาต่อรอง บางรายขอให้สถานทูตจ่ายเงินให้ก่อนก็มี จึงขอยืนยันว่าสถานทูตไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ การต่อรองอาจทำได้บ้างในบางกรณี แต่ถึงอย่างไร คนไข้ก็ต้องชำระค่ารักษา จะมากจะน้อย หรือผ่อนจ่าย หรือจะจ่ายทีหลังก็แล้วแต่โรงพยาบาล หลายรายที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต้องจ่ายเงินค่าหมอค่ายาเป็นจำนวนกว่าครึ่งล้านบาท หากทำประกันไว้ล่วงหน้าก่อนเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะได้รับการดูแลรับผิดชอบโดยบริษัทประกัน ไม่ต้องกังวัลว่าจะต้องเป็นหนี้โรงพยาบาลญี่ปุ่นไปอีกหลายปี
        บางกรณีก็เกิดขึ้นกับคณะทัวร์ที่สายการบินมีความจำเป็นต้องเลื่อนไฟลต์ด้วยเหตุสุดวิสัย เช่น ภัยธรรมชาติ เครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้ภาระตกมาที่ลูกทัวร์ ต้องค้างคืนที่สนามบิน ไม่ได้อาบน้ำอาบท่า ร้องเรียน มาที่สถานทูตให้เข้าไปจัดการให้ความช่วยเหลือ เมื่อเดินทางมากับบริษัทนำเที่ยว หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น บริษัททัวร์ต้องเป็นผู้ติดต่อประสานไปยังสายการบินในอันดับแรก เพื่อขอรับการชดเชยหรือการอำนวยความสะดวก อาจขอเปิดโรงแรมให้ลูกทัวร์เข้าพักหรือขอค่าอาหารในระหว่างรอเครื่องบิน อย่างไรก็ดี ต้องตรวจสอบเงื่อนไขของตั๋วเครื่องบินว่ามีข้อจำกัดในความรับผิดชอบของสายการบินอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล่าช้าจากผลกระทบทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
        การท่องเที่ยวเป็นการเปิดประสบการณ์และช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนสองประเทศ นอกเหนือจากการได้ชมทัศนียภาพอันแปลกตา ช้อปปิ้งสินค้าถูกใจ และชิมอาหารอร่อยถูกปากแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีที่คนไทยจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนได้สัมผัสถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความทันสมัยของสังคมญี่ปุ่น เพื่อที่จะกลับมาปรับใช้กับสังคมไทย สถานทูตหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักท่องเที่ยวไทยจะมีความสุขกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่น และไม่ลืมว่าการท่องเที่ยวมาพร้อมกับ      การเตรียมตัว โดยศึกษาสิ่งที่พึงปฏิบัติและข้อความระมัดระวังของประเทศนั้นๆ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็น     การพักผ่อนและสร้างความสุขให้กับชีวิตได้อย่างแท้จริง

Credit : สถานเอกอัครราชทูต  กรุงโตเกียว





สนามบินนานาชาติในประเทศญี่ปุ่น

สนามบินนาริตะ (โตเกียว)
สนามบินนาริตะตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวออกไป 60 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก หากออกเดินทางจากสนามบินนาริตะ ค่าธรรมเนียมสนามบินจะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว




สนามบินนาริตะ
 http://www.narita-airport.jp/en/index.html

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาตินาริตะ
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/naritaMap.html

สนามบินฮาเนดะ (โตเกียว)
สนามบินฮาเนดะตั้งอยู่ห่างจากใจกลางโตเกียวออกไป 15 กิโลเมตร เป็นสนามบินศูนย์กลางภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ด้วยเที่ยวบินไปยังปลายทาง 49 แห่งภายในประเทศญี่ปุ่น



สนามบินฮาเนดะ (โตเกียว)

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติฮาเนดะ

สนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
สนามบินนานาชาติคันไซตั้งอยู่ในอ่าวโอซาก้าห่างจากชายฝั่งไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กิโลเมตร และห่างจากสถานีShin-Osakaประมาณ 60 กิโลเมตร หากออกเดินทางจากสนามบินคันไซ ค่าธรรมเนียมสนามบินจะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว


สนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
http://www.kansai-airport.or.jp/en/index.asp

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/kansaiAirport.html

สนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
สนามบินนานาชาติCentral Japan(Centrair) อยู่ห่างออกไป 35 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองนาโกย่า หากเดินทางออกจากสนามบินนานาชาติCentral Japan ค่าธรรมเนียมสนามบิน(2500 เยน) จะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศผู้โดยสารที่เดินทางเข้าและออกสนามบินก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสนามบินเช่นกัน (200 เยนที่รวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารเที่ยวบิน)


สนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
http://www.centrair.jp/en/

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/chubuAirport.html

กรณีทำหนังสือเดินทางสูญหาย

ขอทำหนังสือเดินทางใหม่ (กรณีเล่มเดิมสูญหาย)   ค่าธรรมเนียม 9000 เยน 
เอกสารยื่นประกอบ 
(1) ใบแจ้งความ (เคซัทซึโชเม 警察証明) ออกโดยสถานีตำรวจญี่ปุ่น (เอกสารที่ออกโดยป้อมตำรวจไม่สามารถใช้งานได้)
(2) สำเนาหนังสือเดินทาง (หากมี) 

(3) บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 1ชุด  (ถ่ายสำเนาหน้าบ้านเลขที่และหน้าที่ระบุชื่อผู้ร้อง)
(4) สำเนา Residence card (ไซริวการ์ด) 1 ชุด (หากมี)
(5) สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ(กรณีชื่อไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง) 1 ชุด                                                    
(6) สำเนาใบทะเบียนสมรสหรือหย่า หรือ ใบฐานะครอบครัวสมรสหรือหย่า 1 ชุด (กรณีนามสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง)

(7) แบบกรอกข้อมูลขอทำหนังสือเดินทาง 1 ชุด  
(ขอรับที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์)

หมายเหตุ
กรุณาแต่งกายสุภาพ
*ผู้ร้องต้องนำหลักฐานการเข้าเมืองอย่างถูกต้องมาแสดง เช่น หน้าประทับเข้าเมือง หรือรายการบันทึกการเข้าเมืองจากทางการญี่ปุ่น
*ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
*หากข้อมูลในหนังสือเดินทางไม่ตรงกับข้อมูลทะเบียนบ้าน เช่น นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ต้องแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านที่อำเภอไทยให้ถูกต้องก่อน
*ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ นับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
*เมื่อได้รับหนังสือเดินทางใหม่แล้วกรุณาเก็บรักษาให้ดี เพื่อป้องกันการสูญหายไม่ควรนำติดตัว ควรถือบัตร Residence card (ไซริวการ์ด) ติดตัวแทน
*กรณีขอให้ส่งหนังสือเดินทางกลับทางไปรษณีย์ จะจัดส่งแบบเก็บเงินค่าส่งที่ปลายทาง ในกรณีที่อยู่ไม่ชัดเจนหรือไม่มีผู้รับ ไปรษณีย์จะตีกลับมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ และเก็บค่าธรรมเนียมในการส่ง ดังนั้น ผู้ร้องจำเป็นต้องมารับหนังสือเดินทางด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าว
*ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง หากชำระแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

หนังสือสำคัญประจำตัวหรือ C.I.
กรณีที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยด่วน แต่หนังสือเดินทางหมดอายุ หรือหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง เพื่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัวหรือซีไอ เพื่อใช้เป็นเอกสารเดินทางกลับประเทศไทยได้เท่านั้น
ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนาหน้ารูปถ่าย และหน้าวีซ่า 1 ชุด (ถ้ามีวีซ่า)
2. สำเนาบัตรประชาชนไทย 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ชุด
4. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
5. หากเคยจดทะเบียนสมรสหรือหย่า กรุณาเตรียมสำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าไทยมาด้วย
6. หากเป็นผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี กรุณาเตรียมสำเนาสูติบัตรมาด้วย
7. สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว 1 ชุด
9. รูปถ่ายสี ขนาด 4x4 ซ.ม. จำนวน 3 รูป
10.เอกสารจองบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทย

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหาย
กรุณานำเอกสารดังต่อไปนี้ มาติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง 
1. สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลของไทย เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประชาชนไทย สำเนาทะเบียนบ้านไทย
3. รูปถ่ายสี ขนาด 4x4 ซ.ม. จำนวน 3 รูป
4.เอกสารจองบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทย

ทั้งนี้ สำหรับในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุและไม่มีบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศ ไทยมายืนยัน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวญี่ปุ่น

ตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นยกเว้นการตรวจลงตรา (visa) สำหรับการพำนักระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน แก่คนไทย เมื่อวันที่ 1กรกฎาคม 2556 เป็นต้นมา คนไทยเดินทางมาท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น  เป็นจำนวนมาก หลายรายประสบปัญหาต่างๆ ในระหว่างการเดินทาง สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอแจ้งข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวไทย ดังนี้


  1. จัดทำประกันการเดินทางให้ครอบคลุมอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย เพื่อลดภาระทางการเงินในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย และมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
     
  2.  แจ้งญาติที่ประเทศให้ทราบเกี่ยวกับสถานที่พัก สถานที่ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการติดต่อ
     
  3. สำเนาเอกสารประจำตัวบุคคล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางและเก็บไว้กับตัว รวมทั้งเก็บรักษาหนังสือเดินทางไว้ในที่ปลอดภัย 
  4. แนะนำให้เปิดใช้บริการการโทรศัพท์ข้ามแดนอัตโนมัติ (international roaming)จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนการเดินทาง หรือเช่า pocket wifi เพื่อใช้สำหรับการติดต่อในกรณีฉุกเฉินในประเทศญี่ปุ่น
     
  5. ศึกษาเส้นทางและวิธีการเดินทาง รวมทั้งตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว และเมื่อได้รับแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่น หรือพายุหิมะ โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำและหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังสถานที่นั้น 
  6. ญี่ปุ่นตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก จึงเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งและมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิขนาดใหญ่ได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติโปรดอย่าตื่นตระหนกและขอให้ปฏิบัติตามแนวทางการรับมือภัยพิบัติ 4 หลัก คือ 1) ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการญี่ปุ่น 2) ช่วยเหลือตนเองให้ปลอดภัย 3) ช่วยเหลือผู้อื่น และ 4) ขอความช่วยเหลือจากภายนอก 
  7. หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน (hotline) ของสถานเอกอัครราชทูตฯ สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น +81 90 4435 7812