วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข้อมูลทั่วไปญี่ปุ่น japan


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ ญี่ปุ่นรู้จักประเทศญี่ปุ่น Japanที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวท 3,800 กม.พื้นที่ 377,835 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนดิน 374,744 ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำ 3,091 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเล 29,751 กิโลเมตร

ลักษณภูมิประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ 377,835 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อ "ดินแดนอาทิตย์อุทัย " หมู่เกาะที่ทอดตัวยาวมีลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ ได้แก่ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู และมีเกาะใหญ่น้อยอีกกว่า 6,800 เกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น มีจังหวัดต่างๆ ทั้งหมด 47 จังหวัด (Prefecture) แบ่งเป็นเมืองต่างๆ รวมทั้งหมดมากกว่า 650 เมือง โดยมีโตเกียวเป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2411                             
ประชากร ประมาณ 126.97 ล้านคน (พฤษภาคม 2545) อัตราการเติบโตของประชากร คือ ร้อยละ 0.15 (2545) ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คน /ตร.กม.
เชื้อชาติ เชื้อชาติญี่ปุ่น ในทางประวัติศาสตร์เชื่อกันโดยทั่วไปว่าบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นได้แก่กลุ่มเผ่าพันธุ์หนึ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า เผ่าพันธุ์ยามาโตะ ผสมกับคนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ จีนและเกาหลี ปัจจุบันคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวเกาหลีและชาวจีน รวมทั้งเผ่าไอนุ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นไม่ถือว่าประเทศของตนมีชนกลุ่มน้อย

ศาสนา
ศาสนาใหญ่ ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต นอกจากนั้นได้แก่ ศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื้อ

การปกครอง
 ปกครองแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัติรย์เป็นประมุข

ภาษา
 ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ

วันและเวลา
ทั่วประเทศญี่ปุ่น อยู่ในรัศมีเส้นแบ่งเวลาเดียวกันตลอดทั้งประเทศ คือ 9 ชั่วโมง เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช เวลาที่ญี่ปุ่นเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง

สภาพภูมิอากาศ
ภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากลักษณะพื้นที่ของประเทศที่ทอดตัวเป็นแนวยาว
ทางเหนือ คือ เกาะฮอกไกโด มีอากาศหนาวจัดเกือบทั้งปี มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางใต้ คือคิวชูและโอกินาวา จะมีสภาพอากาศแบบเมืองร้อน และฝนตกชุกในฤดูฝน

ประเทศญี่ปุ่น มี 4 ฤดูหลัก ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
  • ฤดูใบไม้ผลิ : (มีนาคม-พฤษภาคม) เป็นฤดูที่สวยงาม ดอกไม้บานสะพรั่ง คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ และเป็นช่วงเปิดเทอม ช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม (29 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม) เป็นช่วง Golden Week ของชาวญี่ปุ่นที่จะได้หยุดพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
  • ฤดูร้อน : (มิถุนายน-สิงหาคม) ช่วงต้นฤดูร้อนจะมีฝนตกแทบทุกวันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมอากาศร้อนชื้น และเป็นช่วงของการปิดภาคเรียน  ฤดูร้อน กิจกรรมที่นิยมกันมากที่สุดคือ การพักผ่อนตามชายหาด อาบแดด และแคมปิ้ง ในช่วงนี้ชาวญี่ปุ่นนิยมส่งการ์ดถึงกันและกันเพื่อถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูนี้ ซึ่งการ์ดนี้เรียกว่า Shochu mimai
  • ฤดูใบไม้ร่วง : (กันยายน-พฤศจิกายน) เป็นฤดูที่แสนโรแมนติก ใบไม้สีเขียวสีแดงค่อยๆร่วงหล่นในบริเวณทั่วไป และฤดูนี้ยังเป็นช่วงชองการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียนอีกด้วย ในฤดูนี้จะมี 1 วันที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ซึ่งเรียกว่า Geshi
  • ฤดูหนาว : (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ในช่วงนี้ภูมิภาคทางเหนืออย่าง ฮอกไกโด โตโฮกุ อากาศจะหนาวเย็นมากและมีหิมะตกหนัก แต่ในฤดูนี้มีเทศกาลที่มีความสำคัญที่สุดคือ ปีใหม่ คนในครอบครัวจะฉลองกันด้วย “บะหมี่ข้ามปี” หรือที่เรียกว่า Toshikoshi soba (ถือกันว่าบะหมี่นี้แทนความมีอายุยืน เพราะมีลักษณะเป็นเส้นยาว) และรอคอยฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ผู้ที่ตีระฆังนี้คือ พระ และจะตีทั้งหมด 108 ครั้ง เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่าคนเราจะมีสิ่งไม่ดีอยู่ 108 อย่าง โดยเริ่มนับถอยหลังไปเรื่อยๆ เมื่อตีครบจำนวนจะเท่ากับว่า เราจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่กับสิ่งที่ดีๆ

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การทำหนังสือเดินทาง

ข้อมูลของการทำหนังสือเดินทาง และอื่นๆ


การทำหนังสือเดินทาง

ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าสู่ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-passport) หากหนังสือเดินทางของท่านเคยต่ออายุมาแล้วครั้งหนึ่งและใช้งานมาครบ 10 ปีแล้ว ท่านต้องมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางด้วยตนเอง เนื่องจากการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีการเก็บข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) ได้แก่ ลายนิ้วมือและภาพถ่ายของผู้ร้องฯ กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของท่านที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
นอกจากนี้ จะไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขข้อมูล เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อตัว ชื่อสกุล ในเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ถ้าท่านต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎรก่อนที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการนี้ หากท่าน ไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับไปแก้ไขข้อมูลทะเบียนราษฎรที่ประเทศไทยด้วยตนเองก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในประเทศไทยดำเนินการแทนได้ โดยติดต่อขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ดูรายละเอียดการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร
หากท่านได้ทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอกนิกส์แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนราษฎรในภายหลัง ท่านจะต้องทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มใหม่
ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มละ 250 โครนเดนมาร์ก มีอายุใช้งาน 5 ปี (โดยได้เพิ่มหน้าหนังสือเดินทางจากเดิม 32 หน้า เป็น 50 หน้า) และจะไม่มีการต่ออายุ แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
การยื่นคำร้อง
  1. กรุณานัดหมายกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ล่วงหน้าที่หมายเลข +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น .
  2. ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องเดินทางไปทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครอง (ทั้งบิดาและมารดา) จะต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
  3. การผลิตหนังสือเดินทาง ใช้เวลาทำการประมาณ 4-6 สัปดาห์
  4. ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก (เงินสด)
หมายเหตุ เนื่องจากขณะนี้มีผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากเกินกว่ากำลังเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์รับคำร้องที่ สถานเอกอัครราชทูตฯ มีอยู่จะสามารถรับได้ในแต่ละวัน และเพื่อไม่ให้ผู้ร้องฯ ต้องรอนานหรือต้องกลับบ้านไปโดยไม่ได้ยื่นคำร้องฯ กรุณาโทรศัพท์มานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนก่อนหนังสือเดินทางหมดอายุ หรืออย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่ท่านต้องการใช้หนังสือเดินทางเพื่อยื่นคำร้องขอต่อใบถิ่นพำนักอาศัยในเดนมาร์ก (opholdstilladelse)  ที่หมายเลขโทรศัพท์ +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น . หากท่านไม่ได้นัดหมายมาก่อนล่วงหน้า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถรับคำร้องของท่านได้
เอกสารและหลักฐานที่จะต้องยื่น
กรณีบุคคลทั่วไป
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด |ดาวน์โหลด |
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักของผู้ร้องฯ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • บัตรประจำตัว (sundhedskort) และบัตรรับรองการมีถิ่นพำนักในเดนมาร์ก (opholdstilladelse kort)
  • หนังสือแจ้งความฉบับภาษาอังกฤษ (ในกรณีหนังสือเดินทางหาย)
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
กรณีผู้เยาว์ ( มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด|
  • หนังสือเดินทางฉบับเดิม (ถ้ามี)
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีหมายเลขประจำตัว 13 หลัก พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สูติบัตร หากผู้เยาว์เกิดในต่างประเทศและยังมิได้ทำสูติบัตร บิดามารดาจะต้องติดต่อขอทำสูติบัตรไทย ณ สถานทูตไทยในประเทศที่เด็กเกิด ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง ดูรายละเอียด | การแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตรไทย |
  • บัตรประจำตัว (sundhedskort) และบัตรรับรองการมีถิ่นพำนักในเดนมาร์ก (opholdstilladelse kort)
  • ทะเบียนสมรสบิดามารดา
  • หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุอยู่ของบิดา/มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง
  • บิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองต้องมาแสดงตนพร้อมผู้เยาว์ และลงนามให้ความยินยอมในแบบคำร้อง
  • หนังสือแจ้งความฉบับภาษาอังกฤษ (ในกรณีหนังสือเดินทางหาย)
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
หมายเหตุ
  • บิดามารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนาม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ จะต้องไปลงนามใน “ หนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม” ( สำหรับการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายมือชื่อของบิดาและมารดา [กรณีพำนักอยู่ในกรีนแลนด์ต้องไปลงนามต่อหน้าศาล]
  • ในกรณีที่บิดาและมารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ “ หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทาง ผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ [กรุงเทพฯ] หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ [ต่างจังหวัด]
  • กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว และ จะต้องแสดงหลักฐานทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลซึ่งระบุว่าเด็กอยู่ในความปกครองของบิดา/มารด าหรือผู้มีอำนาจปกครอง
  • กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์เสียชีวิต จะต้องแสดงหลักฐานใบมรณบัตร
กรณีข้าราชการและนักศึกษาที่ลามาศึกษาต่อ
  • หนังสือของส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อ
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด |
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักของผู้ร้องฯ
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
กรณีพระภิกษุ
  • แบบฟอร์มข้อมูลผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด | ดาวน์โหลด |
  • หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน
  • สำเนามติมหาเถรสมาคมอนุมัติการขอออกหนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ และฉายา หรือนามสกุลที่ตรงกับหนังสือเดินทาง (ยกเว้นพระภิกษุที่บวชในต่างประเทศ)
  • ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
  • เอกสารทะเบียนราษฎร์ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • ค่าธรรมเนียม 250 โครนเดนมาร์ก ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)
***กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดนมาร์ก ***
เอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็นแต่ละกรณี 
1. ใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล
– กรณีใช้ชื่อ/ชื่อสกุลใหม่ที่ไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมหรือรายการแก้ไขหนังสือเดินทางที่ปรากฏในหนังสือเดินทางฉบับเดิม
2. ใบสำคัญการสมรส
– สตรีที่สมรสแล้วขอเปลี่ยนชื่อสกุล
– มารดาที่มีชื่อสกุลไม่ตรงกับสูติบัตรของบุตร
3. ใบสำคัญการหย่า
– สตรีที่ใช้ชื่อสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมเนื่องจากหย่า
4. บันทึกการหย่า
– ใช้ประกอบการแสดงอำนาจในการปกครองบุตร
5. หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร
– กรณีผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของบิดา โดยที่บิดา/มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
6. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา/มารดา
– ผู้เยาว์ที่บิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าว
** หากผู้ร้องฯ ไม่สามารถแสดงเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ขอให้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถแสดงเอกสารดังกล่าวฯ พร้อมทั้งแสดงเอกสารอย่างอื่นที่แสดงความเป็นคนไทย เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาอนุโลมเป็นรายกรณี **
ระยะเวลาดำเนินการและการรับเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันคำร้องขอออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะถูกส่งไปผลิตเล่มที่กระทรวงการต่างประเทศโดยใช้เวลานับแต่ยื่นคำร้องจนกระทั่งได้รับเล่มจากสถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์
ผู้ร้องฯ สามารถรับเล่มหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี คือ
– มารับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
– ส่งกลับให้ทางไปรษณีย์ หากประสงค์ให้สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดส่งกลับให้ทางไปรษณีย์ โปรดแนบซอง จ่าหน้าถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน พร้อมติด แสตมป์สำหรับค่าไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้เพียงพอสำหรับน้ำหนักหนังสือเดินทาง และเอกสารที่ต้องการให้ส่งคืน (หากมี) ตามอัตราของสำนักงานไปรษณีย์เดนมาร์ก (ประมาณ 100 โครนเดนมาร์ก) หากชำระค่าไปรษณีย์ไม่ครบถ้วน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่สามารถส่งหนังสือเดินทางกลับให้กับท่านได้
** ดูรายละเอียดอัตราค่าไปรษณีย์ได้ที่ Post Danmark **
หมายเหตุ สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ชำรุดหรือสูญหาย ไม่ว่ากรณีใด
หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญที่อาจใช้แสดงตัวท่านระหว่างที่พำนักในต่างประเทศ โปรดเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย อย่าปล่อยให้ตกอยู่ในมือผู้อื่น และ ไม่ควรปล่อยให้ขาดอายุ หากหนังสือเดินทางมีอายุใช้ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน ควรติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอทำเล่มใหม่
โปรดถ่ายสำเนา และแยกเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ในกรณีที่หนังสือเดินทางของท่านสูญหาย
________________________________________________________________________________
กรุณาติดต่อขอนัดหมายก่อนเพื่อความสะดวก และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน (ฝ่ายกงสุล)
โทรศัพท์ +45 39 62 50 10 กด 1 ระหว่างเวลา 13.00-15.45 น.
อีเมล์  passport@thaiembassy.dk หรือ passportcopenhagen@gmail.com

เรียวกัง



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ท่องเที่ยวญี่ปุ่นแบบอบอุ่นและปลอดภัย

      ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กระแสความนิยมท่องเที่ยวญี่ปุ่นในหมู่คนไทยได้รับการกล่าวถึงเสมอๆ จะเห็นได้จากรายการทีวี คอลัมน์นิตยสารและหนังสือพิมพ์ รวมไปถึงโลกโซเชียลมีเดียและเว็บบอร์ดท่องเที่ยวมากมาย มีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามของญี่ปุ่นและเสน่ห์แห่งการช้อปปิ้งที่ดึงดูดบรรดาขาช้อปชาวไทยให้มาเยี่ยมมาเยือนดินแดนอาทิตอุทัย นอกเหนือจากมาดูมาเห็นสิ่งสวยงามทางธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แล้ว     ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี และสินค้าบรรดามีก็เป็นรายการอันดับต้นๆ ที่คนไทยที่มาญี่ปุ่นจะได้พบเห็นและเลือกซื้อ รวมถึงอาหารญี่ปุ่นอันขึ้นชื่อที่หลายคนหลงใหล ผนวกกับการที่ประเทศญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าให้คนไทยมาท่องเที่ยวได้ 15 วัน และการทำการตลาดของสายการบินน้อยใหญ่ที่หั่นราคาตั๋วเครื่องบินลงมา ล้วนดึงดูดให้คนไทยต่างจูงลูกเด็กเล็กแดง คุณป้า คุณอา อากงอาม่า มาเยือนถิ่นแดนปลาดิบกันถ้วนหน้า ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยตรงได้อย่างยอดเยี่ยม
   ในทางกลับกัน การที่คนไทยเดินทางมาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากย่อมมีปัญหาตามมา เล็กบ้าง ใหญ่บ้างแล้วแต่สถานการณ์ที่ประสบพบเจอ ทุกคนล้วนรับรู้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัย แต่คงไม่มีใครรับรองได้ว่าความปลอดภัยนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกคน ทุกสังคมล้วนมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันไป การมาท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และเปิดมุมมองให้กับนักท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยว ก็อาจสร้างความทรงจำแย่ๆ ให้ได้เช่นกัน หากเราไม่ระมัดระวังตัวปล่อยใจปล่อยกาย รวมทั้งยอมปล่อยเงินออกจากกระเป๋าให้ตกเป็นเหยื่อของผู้หากินกับนักท่องเที่ยวในด้านมืด

        ประสบการณ์หนึ่งที่สถานทูตอยากแบ่งปันกับนักท่องเที่ยวไทย คือ การถูกหลอกให้เข้าไปเที่ยวบาร์ แล้วต้องจ่ายเงินจำนวนหลายแสนเยนเพียงเพื่อดื่มเหล้าและมีผู้หญิงมานั่งคุยเป็นเพื่อน หลายรายต้องเสียเงิน เสียเวลาให้กับผู้มีอิทธิพลในย่านเที่ยวกลางคืนของโตเกียว แถมยังถูกขู่กรรโชกเรียกร้องเงินเป็นจำนวนมาก หากขัดขืนก็อาจถูกทำร้ายร่างกาย เหยื่อจึงเลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตน สถานทูตจึงอยากแจ้งเตือนไปยังนักดื่มหรือวัยรุ่นที่ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับชีวิต ให้หลีกเลี่ยงเข้าไปยังร้านดื่มเหล้า หรือบาร์ เพราะหากเข้าไปแล้วโชคร้ายตามตัวอย่างที่กล่าวมา โอกาส  ที่จะออกมาด้วยเงินอยู่ครบในกระเป๋าเป็นไปได้น้อยมาก

        อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้คนไทยผู้นิยมท่องเที่ยวญี่ปุ่น คือ การมาเที่ยวด้วยตนเอง อาศัยไกด์บุคแนะนำสถานที่กิน สถานที่ช้อปและไม่ได้ซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ หลายคนไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้เลย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่างท่องเที่ยวเข้าโรงพยาบาลญี่ปุ่น ต้องตกใจกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก เมื่อได้รับใบเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล บางรายโทร. หาสถานทูตให้ช่วยเจรจาต่อรอง บางรายขอให้สถานทูตจ่ายเงินให้ก่อนก็มี จึงขอยืนยันว่าสถานทูตไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ การต่อรองอาจทำได้บ้างในบางกรณี แต่ถึงอย่างไร คนไข้ก็ต้องชำระค่ารักษา จะมากจะน้อย หรือผ่อนจ่าย หรือจะจ่ายทีหลังก็แล้วแต่โรงพยาบาล หลายรายที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต้องจ่ายเงินค่าหมอค่ายาเป็นจำนวนกว่าครึ่งล้านบาท หากทำประกันไว้ล่วงหน้าก่อนเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะได้รับการดูแลรับผิดชอบโดยบริษัทประกัน ไม่ต้องกังวัลว่าจะต้องเป็นหนี้โรงพยาบาลญี่ปุ่นไปอีกหลายปี
        บางกรณีก็เกิดขึ้นกับคณะทัวร์ที่สายการบินมีความจำเป็นต้องเลื่อนไฟลต์ด้วยเหตุสุดวิสัย เช่น ภัยธรรมชาติ เครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้ภาระตกมาที่ลูกทัวร์ ต้องค้างคืนที่สนามบิน ไม่ได้อาบน้ำอาบท่า ร้องเรียน มาที่สถานทูตให้เข้าไปจัดการให้ความช่วยเหลือ เมื่อเดินทางมากับบริษัทนำเที่ยว หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น บริษัททัวร์ต้องเป็นผู้ติดต่อประสานไปยังสายการบินในอันดับแรก เพื่อขอรับการชดเชยหรือการอำนวยความสะดวก อาจขอเปิดโรงแรมให้ลูกทัวร์เข้าพักหรือขอค่าอาหารในระหว่างรอเครื่องบิน อย่างไรก็ดี ต้องตรวจสอบเงื่อนไขของตั๋วเครื่องบินว่ามีข้อจำกัดในความรับผิดชอบของสายการบินอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล่าช้าจากผลกระทบทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
        การท่องเที่ยวเป็นการเปิดประสบการณ์และช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนสองประเทศ นอกเหนือจากการได้ชมทัศนียภาพอันแปลกตา ช้อปปิ้งสินค้าถูกใจ และชิมอาหารอร่อยถูกปากแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีที่คนไทยจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนได้สัมผัสถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความทันสมัยของสังคมญี่ปุ่น เพื่อที่จะกลับมาปรับใช้กับสังคมไทย สถานทูตหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักท่องเที่ยวไทยจะมีความสุขกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่น และไม่ลืมว่าการท่องเที่ยวมาพร้อมกับ      การเตรียมตัว โดยศึกษาสิ่งที่พึงปฏิบัติและข้อความระมัดระวังของประเทศนั้นๆ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็น     การพักผ่อนและสร้างความสุขให้กับชีวิตได้อย่างแท้จริง

Credit : สถานเอกอัครราชทูต  กรุงโตเกียว





สนามบินนานาชาติในประเทศญี่ปุ่น

สนามบินนาริตะ (โตเกียว)
สนามบินนาริตะตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวออกไป 60 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก หากออกเดินทางจากสนามบินนาริตะ ค่าธรรมเนียมสนามบินจะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว




สนามบินนาริตะ
 http://www.narita-airport.jp/en/index.html

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาตินาริตะ
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/naritaMap.html

สนามบินฮาเนดะ (โตเกียว)
สนามบินฮาเนดะตั้งอยู่ห่างจากใจกลางโตเกียวออกไป 15 กิโลเมตร เป็นสนามบินศูนย์กลางภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ด้วยเที่ยวบินไปยังปลายทาง 49 แห่งภายในประเทศญี่ปุ่น



สนามบินฮาเนดะ (โตเกียว)

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติฮาเนดะ

สนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
สนามบินนานาชาติคันไซตั้งอยู่ในอ่าวโอซาก้าห่างจากชายฝั่งไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กิโลเมตร และห่างจากสถานีShin-Osakaประมาณ 60 กิโลเมตร หากออกเดินทางจากสนามบินคันไซ ค่าธรรมเนียมสนามบินจะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว


สนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
http://www.kansai-airport.or.jp/en/index.asp

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติคันไซ (โอซาก้า)
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/kansaiAirport.html

สนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
สนามบินนานาชาติCentral Japan(Centrair) อยู่ห่างออกไป 35 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองนาโกย่า หากเดินทางออกจากสนามบินนานาชาติCentral Japan ค่าธรรมเนียมสนามบิน(2500 เยน) จะรวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารของเที่ยวบินที่มีปลายทางในต่างประเทศแล้ว สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศผู้โดยสารที่เดินทางเข้าและออกสนามบินก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสนามบินเช่นกัน (200 เยนที่รวมอยู่ในอัตราค่าโดยสารเที่ยวบิน)


สนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
http://www.centrair.jp/en/

การเดินทางเข้าออกสนามบินนานาชาติ Central Japan (นาโกย่า)
http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/transportation/airport/chubuAirport.html

กรณีทำหนังสือเดินทางสูญหาย

ขอทำหนังสือเดินทางใหม่ (กรณีเล่มเดิมสูญหาย)   ค่าธรรมเนียม 9000 เยน 
เอกสารยื่นประกอบ 
(1) ใบแจ้งความ (เคซัทซึโชเม 警察証明) ออกโดยสถานีตำรวจญี่ปุ่น (เอกสารที่ออกโดยป้อมตำรวจไม่สามารถใช้งานได้)
(2) สำเนาหนังสือเดินทาง (หากมี) 

(3) บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 1ชุด  (ถ่ายสำเนาหน้าบ้านเลขที่และหน้าที่ระบุชื่อผู้ร้อง)
(4) สำเนา Residence card (ไซริวการ์ด) 1 ชุด (หากมี)
(5) สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ(กรณีชื่อไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง) 1 ชุด                                                    
(6) สำเนาใบทะเบียนสมรสหรือหย่า หรือ ใบฐานะครอบครัวสมรสหรือหย่า 1 ชุด (กรณีนามสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง)

(7) แบบกรอกข้อมูลขอทำหนังสือเดินทาง 1 ชุด  
(ขอรับที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์)

หมายเหตุ
กรุณาแต่งกายสุภาพ
*ผู้ร้องต้องนำหลักฐานการเข้าเมืองอย่างถูกต้องมาแสดง เช่น หน้าประทับเข้าเมือง หรือรายการบันทึกการเข้าเมืองจากทางการญี่ปุ่น
*ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
*หากข้อมูลในหนังสือเดินทางไม่ตรงกับข้อมูลทะเบียนบ้าน เช่น นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ต้องแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านที่อำเภอไทยให้ถูกต้องก่อน
*ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ นับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
*เมื่อได้รับหนังสือเดินทางใหม่แล้วกรุณาเก็บรักษาให้ดี เพื่อป้องกันการสูญหายไม่ควรนำติดตัว ควรถือบัตร Residence card (ไซริวการ์ด) ติดตัวแทน
*กรณีขอให้ส่งหนังสือเดินทางกลับทางไปรษณีย์ จะจัดส่งแบบเก็บเงินค่าส่งที่ปลายทาง ในกรณีที่อยู่ไม่ชัดเจนหรือไม่มีผู้รับ ไปรษณีย์จะตีกลับมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ และเก็บค่าธรรมเนียมในการส่ง ดังนั้น ผู้ร้องจำเป็นต้องมารับหนังสือเดินทางด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าว
*ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง หากชำระแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

หนังสือสำคัญประจำตัวหรือ C.I.
กรณีที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยด่วน แต่หนังสือเดินทางหมดอายุ หรือหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง เพื่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัวหรือซีไอ เพื่อใช้เป็นเอกสารเดินทางกลับประเทศไทยได้เท่านั้น
ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนาหน้ารูปถ่าย และหน้าวีซ่า 1 ชุด (ถ้ามีวีซ่า)
2. สำเนาบัตรประชาชนไทย 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ชุด
4. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
5. หากเคยจดทะเบียนสมรสหรือหย่า กรุณาเตรียมสำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าไทยมาด้วย
6. หากเป็นผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี กรุณาเตรียมสำเนาสูติบัตรมาด้วย
7. สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว 1 ชุด
9. รูปถ่ายสี ขนาด 4x4 ซ.ม. จำนวน 3 รูป
10.เอกสารจองบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทย

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหาย
กรุณานำเอกสารดังต่อไปนี้ มาติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง 
1. สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลของไทย เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประชาชนไทย สำเนาทะเบียนบ้านไทย
3. รูปถ่ายสี ขนาด 4x4 ซ.ม. จำนวน 3 รูป
4.เอกสารจองบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทย

ทั้งนี้ สำหรับในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุและไม่มีบัตรโดยสารเครื่องบินกลับประเทศ ไทยมายืนยัน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวญี่ปุ่น

ตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นยกเว้นการตรวจลงตรา (visa) สำหรับการพำนักระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน แก่คนไทย เมื่อวันที่ 1กรกฎาคม 2556 เป็นต้นมา คนไทยเดินทางมาท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น  เป็นจำนวนมาก หลายรายประสบปัญหาต่างๆ ในระหว่างการเดินทาง สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอแจ้งข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวไทย ดังนี้


  1. จัดทำประกันการเดินทางให้ครอบคลุมอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย เพื่อลดภาระทางการเงินในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย และมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
     
  2.  แจ้งญาติที่ประเทศให้ทราบเกี่ยวกับสถานที่พัก สถานที่ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการติดต่อ
     
  3. สำเนาเอกสารประจำตัวบุคคล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางและเก็บไว้กับตัว รวมทั้งเก็บรักษาหนังสือเดินทางไว้ในที่ปลอดภัย 
  4. แนะนำให้เปิดใช้บริการการโทรศัพท์ข้ามแดนอัตโนมัติ (international roaming)จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนการเดินทาง หรือเช่า pocket wifi เพื่อใช้สำหรับการติดต่อในกรณีฉุกเฉินในประเทศญี่ปุ่น
     
  5. ศึกษาเส้นทางและวิธีการเดินทาง รวมทั้งตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว และเมื่อได้รับแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่น หรือพายุหิมะ โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำและหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังสถานที่นั้น 
  6. ญี่ปุ่นตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก จึงเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งและมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิขนาดใหญ่ได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติโปรดอย่าตื่นตระหนกและขอให้ปฏิบัติตามแนวทางการรับมือภัยพิบัติ 4 หลัก คือ 1) ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการญี่ปุ่น 2) ช่วยเหลือตนเองให้ปลอดภัย 3) ช่วยเหลือผู้อื่น และ 4) ขอความช่วยเหลือจากภายนอก 
  7. หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน (hotline) ของสถานเอกอัครราชทูตฯ สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น +81 90 4435 7812